top of page
เป็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันและร่วมแก้ปัญหา
การรังแกกันในโรงเรียนและโลกออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือเด็ก
และเยาวชนที่โดนรังแก มีภาวะเครียด หาทางออกไม่ได้
มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย สามารถติดต่อขอช่วยเหลือ
จากทีมนักจิตวิทยาได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เด็กและเยาวชน
ที่ใช้แอพพลิเคชั่นได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะในการรับมือ
สถานการณ์การรังแก ในรูปแบบต่างๆ อย่างถูกต้อง
มีความเข้าใจอารมณ์ตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น
มีความกล้าที่จะทำสิ่งที่ดีและถูกต้อง เรียนรู้ทักษะชีวิต
ทักษะการแก้ปัญหา และการจัดการอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม
BuddyThai Application กับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการบูลลี่
ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีครึ่ง
นับตั้งแต่บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA GROUP ได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน “BuddyThai” แพลตฟอร์มช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนกลั่นแกล้งรังแก (Bully) ทั้งในโรงเรียนและในโลกออนไลน์ไปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ก็นับเป็นเวลากว่า 1 ปีครึ่งแล้ว ที่แอปพลิเคชั่น BuddyThai ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชนไทย รวมถึงยังมีส่วนร่วมในการเป็นพื้นที่ปลอดภัยด้านสุขภาพจิต ด้วยการให้ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง จุดเริ่มต้นของแอปพลิเคชั่น BuddyThai นี้เกิดจากความตั้งใจของ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ (กึ้ง) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA ที่เล็งเห็นถึงปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกทั้งทางร่างกายและทางจิตใจในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งนับเป็นปัญหาที่อยู่ในสังคมไทยมาเนิ่นนาน โดยนายเฉลิมชัย กล่าวว่า “ผมอยากจะเป็นส่วนหนึ่ง หรืออยากจะเป็นคนเริ่มอะไรบางอย่างที่ลดปัญหาเรื่องการบูลลี่ลง จึงอยากทำแอปพลิเคชั่นหนึ่งที่เด็กๆ สามารถมาคุยด้วยได้ หรือกดปุ่มเพื่อบอกว่าตัวเองมีปัญหาอะไรได้ เพื่อให้ผู้ใหญ่ที่ได้รับรู้ข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ทันที” ด้วยเหตุนี้ TTA จึงจับมือร่วมกับกรมสุขภาพจิตเพื่อมุ่งพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่จะสามารถเป็น “เพื่อน” คนหนึ่งให้แก่เด็กๆ เป็นที่ปรึกษาที่หันมาเมื่อไหร่ก็เจอ นอกจากแอปพลิเคชั่นนี้จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ ยังช่วยเด็กและเยาวชนที่ใช้แอพพลิเคชั่น ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะในการรับมือสถานการณ์การรังแกในรูปแบบต่างๆ อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจอารมณ์ตัวเองและผู้อื่นมากขึ้นผ่านฟีเจอร์แบบประเมิน เด็กๆ ยังสามารถเรียนรู้ทักษะชีวิต ทักษะการแก้ปัญหา และการจัดการอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม จากฟีเจอร์ Mood-tracking ซึ่งสามารถบันทึกอารมณ์ในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลา และดูข้อมูลบันทึกอารมณ์ย้อนหลังได้ด้วย และหากเด็กและเยาวชนคนใดต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอย่างเร่งด่วน ก็สามารถเข้าถึงบริการและรับความช่วยเหลือผ่านฟีเจอร์ SOS เพื่อติดต่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินไปยังหน่วยงานด้านสุขภาพจิต เช่น Hot line ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ Hot line สุขภาพจิต 1323 กรมสุขภาพจิต Lova Care Station เพจ Because We Care โดยศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ (OSCC) ช่องทาง Warm Line สำหรับฝากข้อความ นางสาวหริสวรรณ ศิริวงศ์ (พีเจ) กรรมการบริหารแอปพลิเคชั่น BuddyThai ได้เปิดเผยข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับ BuddyThai ว่า ณ ตอนนี้ (มี.ค. 67) แอปพลิเคชั่นมียอด Download มากกว่า 5,000 ครั้ง และมี user กด SOS เพื่อขอความช่วยเหลือกว่า 1,200 ครั้ง โดยหากพิจารณาจากข้อมูล Mood Tracking แล้ว พบว่ามี user กดบันทึกอารมณ์เศร้าและเครียด มากกว่า 10,000 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กและเยาวชนไทยอยู่ในสภาพสังคมที่กดดัน และมีแนวโน้มนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตมากแค่ไหน ตลอดปี 2566 และต้นปี 2567 BuddyThai ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรม School Tour ร่วมกับ สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือการร่วมกันปลูกจิตสำนึกและรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนตระหนักรู้เรื่องพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก (Bully) การรู้เท่าทันอารมณ์ และการป้องกันการกระทำความรุนแรงในทุกมิติ รวมถึงส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจตนเองในด้านอารมณ์และสุขภาพจิต รวมถึงรู้จักช่องทางการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เมื่อต้องรับมือกับสถานการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแก (Bully) และสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้งาน ผ่านการใช้งานแอปพลิเคชัน “BuddyThai” จากการจัดกิจกรรม School tour และได้มีการพูดคุยกับเด็กและเยาวชน ที่กำลังเติบโตอยู่สังคมยุคปัจจุบัน พบว่าน้องๆ หลายๆคนรู้สึกดีที่มีหน่วยงาน หรือผู้ใหญ่ให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก และไม่มองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะปัญหาที่เจอ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กที่อาจจะยังไม่มีประสบการณ์มากพอในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้นได้เพียงลำพัง การที่มีผู้ใหญ่เข้ามาให้ความสนใจในประเด็นปัญหาตรงนี้จึงเป็นการแสดงออกถึงความพยายามในการช่วยกันแก้ไขปัญหาและสนับสนุนการเติบโตของพวกเขาอย่างถูกวิธี ในส่วนแอปพลิเคชั่น ถือได้ว่าตอบโจทย์สำหรับสังคมยุคใหม่ที่เป็นโลกของเทคโนโลยีและดิจิตอล ที่สามารถรวบรวมช่องทางในการแจ้งเหตุ ส่งเรื่องขอคำปรึกษาได้ถูกต้องและตรงจุด เพราะในบางครั้งก็เกิดความสับสนขึ้นในหมู่คนใช้บริการว่าหากมีปัญหาเรื่องต่างๆ ควรปรึกษาใครได้บ้าง อีกทั้งฟีลเจอร์ยังสอดคล้องกับความต้องการของเด็กและเยาวชน ทำให้เรียนรู้และเข้าใจตนเอง โดยอาศัยวิธีหลากหลายรูปแบบ มีทั้ง Mood Tracking และสถานการณ์สมมุติ ในฝั่งของคุณครู สะท้อนว่าเด็กและเยาวชนประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต มีความเครียดความกังวล และความกดดันในชีวิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน บางรายมีอาการป่วยด้วยโรคซึมเศร้า และคิดทำร้ายตัวเอง นับวันปัญหาทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และตรวจพบได้ในเด็กที่มีค่าเฉลี่ยอายุที่น้อยลง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง เช่น กรมสุขภาพจิต และกรุงเทพมหานครเองก็เล็งเห็นถึงปัญหาและให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ทีมงานที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแอป ได้แก่ นางสาวขวัญเนตร สีดาจิตร์ (ขนม) ผู้ประสานงานโครงการ และที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโครงการ Buddy Thai Application นางสาวปณิดา มณีธวัช (ไอซ์) ผู้ประสานงานโครงการ Buddy Thai Application นางสาวกนกวรรณ พงษ์พิพัฒน์ (วาวา) ผู้ช่วยโครงการ Buddy Thai Application มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า เด็กและเยาวชนในปัจจุบันควรที่จะสร้าง Self - Awareness เพื่อให้เข้าใจตนเองและตระหนักรู้ถึงปัญหาสุขภาพจิตได้มากยิ่งขึ้น เมื่อเด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกัน ควบคู่ไปกับการมีพื้นที่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาคนและสังคมต่อไปในอนาคต แพลนในอนาคต ขยายแผนการทำงานร่วมกับโรงเรียน คุณครู และผู้ปกครอง เพื่อให้ช่วยกันดูแล ให้ความช่วยเหลือ และสามารถเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กและเยาวชนที่กำลังจะเติบโตขึ้นในอนาคต ให้ BUDDY เป็นเหมือนเพื่อนของทุกคน
สคูลทัวร์
กิจกรรมที่ผ่านมา
Screenshots
Buddy Thai Screens
bottom of page